วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วัฒนธรรมของสิงคโปร์



วัฒนธรรมของสิงคโปร์
          ประชากรสิงคโปร์มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ อีกทั้งส่วนใหญ่ยังยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิม  ทำให้สิงคโปร์มีวัฒนธรรมหลากหลาย ทั้งทางด้านอาหาร การแต่งกาย ตลอดจนการเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ และความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าที่แตกต่างกันไป ชาวจีนส่วนมากบูชาเจ้าแม่กวนอิมธิดาแห่งความสุข กวนอูเทพเจ้าแห่งความยุติธรรม รวมถึงเทพเจ้าจีนองค์อื่นๆ  ขณะที่ชาวฮินดูบูชาเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ เป็นต้น
         
เทศกาลสำคัญของสิงคโปร์ ส่วนมากมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา    เริ่มตั้งแต่

          -  เทศกาลตรุษจีน (Chinese New Year) ในเดือนกุมภาพันธ์ ชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีนจะจัดงานเซ่นไหว้เทพเจ้าและงานรื่นเริงสนุกสนานอื่นๆ  โดยรัฐบาล ห้างร้าน และบริษัทต่างๆ จะหยุดทำการเป็นเวลา 2 วัน  แต่บางแห่งอาจหยุดนานถึง 15 วัน  โดยจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ที่ไซน่าทาวน์   มีทั้งขบวนแห่งมังกร  การแสดงดอกไม้ไฟ  และการแสดงแสงสีเสียงต่างๆ
             ธรรมเนียมปฏิบัติของชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีน  คือ  คืนก่อนวันตรุษจีน  แต่ละครอบครัวจะกลับมากินข้าวเย็นกันพร้อมหน้าพร้อมตา  เมื่อทานกันอิ่มแล้ว  พ่อแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ก็จะมีการแจกเงิน (อั่งเปา)  ให้ลูกหลานที่ยังไม่ได้แต่งงาน  เพื่อความเป็นสิริมงคลรับปีใหม่   คล้ายกับคนไทยเชื้อสายจีน

          -   เทศกาล Good Friday ของชาวคริสต์ในเดือนเมษายน   จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการสละชีวิตของพระเยซูบนไม้กางเขน

          -  เทศกาลวิสาขบูชา (Vesak Day) ของชาวพุทธจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม เพื่อระลึกถึงการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า




          -  เทศกาล Hari Raya Puasa   เป็นเทศกาลสำคัญของชาวสิงคโปร์เชื้อสายมุสลิม  จัดขึ้นในเดือนตุลาคม (เดือน 10)  ของทุกปีตามปฏิทินอิสลาม  โดยที่ช่วงเช้าชาวมุสลิมจะพร้อมใจกันเข้าสุเหร่าเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา   จากนั้นก็เป็นการเฉลิมฉลองในหมู่เพื่อนฝูงหรือครอบครัว  ซึ่งงานนี้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ที่ถนนเกย์แลง  ศูนย์รวมชาวมุสลิมในสิงคโปร์หลังการสิ้นสุดพิธีถือศีลอดหรือรอมฏอน (Ramadan) 


          -  เทศกาล Deepavali   ในเดือนพฤศจิกายน เป็นเทศกาลแห่งแสงสว่างและเป็นงานขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดูในสิงคโปร์   ชาวสิงคโปร์เชื้อสายอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดู   คำว่า  "ทีปวาลี"  ในภาษาสันสกฤตแปลว่า  "แถวแห่งแสงไฟ"   ดังนั้นเมื่อถึงเทศกาลนี้บ้านเรือนและถนนในย่านลิตเติ้ลอินเดียก็จะประดับตกแต่งด้วยไฟส่องสว่างตลอดค่ำคืน  ถือเป็นการบูชาพระแม่ลักษมี
             สำหรับบ้านเรือนจะมีการตกแต่งประดับประดาด้วยตะเกียง (Kolam) ที่ทำจากเมล็ดข้าวและเมล็ดธัญพืชที่แห้งสนิท และตกแต่งด้วยสีสดใส ให้เป็นรูปดอกไม้ เส้นรูปทรงเลขาคณิต และนกยูง ตามความเชื่อสมัยโบราณเป็นการเชื้อเชิญเทพเจ้าแห่งความร่ำรวย คือ  พระนางลักษณ์มี  (Mahalakshmi)   จะเสด็จมาจากสวรรค์มาอวยพรสู่ครอบครัวให้เกิดความร่ำรวยตลอดไป
            งานเฉลิมฉลองเทศกาล Deepavali   เพื่อระลึกถึง ประวัติศาตร์ในอดีต ด้วยการจุดไฟตะเกียงน้ำมันที่เรียกว่า (Diyas)  ตามสถานที่สำคัญทางศาสนา วัด จากแสงเทียนและหลอดไฟให้เกิดแสงสว่าง ซึ่งความหมายของการจุดตะเกียงไฟน้ำมัน เป็นสัญลักษณ์ปลดปล่อยความชั่วร้ายจากจิตใจ และแทนที่ด้วยแสงสว่างจากตะเกียง

          ชาวสิงคโปร์มีวัฒนธรรมหลากหลายแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติ  แต่ผสมผสานกันอย่างกลมกลืน  โดยส่วนมากมักเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนา  รวมถึงความเชื่อเรื่องเทพเจ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น