วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วัฒนธรรมของสิงคโปร์



วัฒนธรรมของสิงคโปร์
          ประชากรสิงคโปร์มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ อีกทั้งส่วนใหญ่ยังยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิม  ทำให้สิงคโปร์มีวัฒนธรรมหลากหลาย ทั้งทางด้านอาหาร การแต่งกาย ตลอดจนการเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ และความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าที่แตกต่างกันไป ชาวจีนส่วนมากบูชาเจ้าแม่กวนอิมธิดาแห่งความสุข กวนอูเทพเจ้าแห่งความยุติธรรม รวมถึงเทพเจ้าจีนองค์อื่นๆ  ขณะที่ชาวฮินดูบูชาเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ เป็นต้น
         
เทศกาลสำคัญของสิงคโปร์ ส่วนมากมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา    เริ่มตั้งแต่

          -  เทศกาลตรุษจีน (Chinese New Year) ในเดือนกุมภาพันธ์ ชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีนจะจัดงานเซ่นไหว้เทพเจ้าและงานรื่นเริงสนุกสนานอื่นๆ  โดยรัฐบาล ห้างร้าน และบริษัทต่างๆ จะหยุดทำการเป็นเวลา 2 วัน  แต่บางแห่งอาจหยุดนานถึง 15 วัน  โดยจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ที่ไซน่าทาวน์   มีทั้งขบวนแห่งมังกร  การแสดงดอกไม้ไฟ  และการแสดงแสงสีเสียงต่างๆ
             ธรรมเนียมปฏิบัติของชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีน  คือ  คืนก่อนวันตรุษจีน  แต่ละครอบครัวจะกลับมากินข้าวเย็นกันพร้อมหน้าพร้อมตา  เมื่อทานกันอิ่มแล้ว  พ่อแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ก็จะมีการแจกเงิน (อั่งเปา)  ให้ลูกหลานที่ยังไม่ได้แต่งงาน  เพื่อความเป็นสิริมงคลรับปีใหม่   คล้ายกับคนไทยเชื้อสายจีน

          -   เทศกาล Good Friday ของชาวคริสต์ในเดือนเมษายน   จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการสละชีวิตของพระเยซูบนไม้กางเขน

          -  เทศกาลวิสาขบูชา (Vesak Day) ของชาวพุทธจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม เพื่อระลึกถึงการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า




          -  เทศกาล Hari Raya Puasa   เป็นเทศกาลสำคัญของชาวสิงคโปร์เชื้อสายมุสลิม  จัดขึ้นในเดือนตุลาคม (เดือน 10)  ของทุกปีตามปฏิทินอิสลาม  โดยที่ช่วงเช้าชาวมุสลิมจะพร้อมใจกันเข้าสุเหร่าเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา   จากนั้นก็เป็นการเฉลิมฉลองในหมู่เพื่อนฝูงหรือครอบครัว  ซึ่งงานนี้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ที่ถนนเกย์แลง  ศูนย์รวมชาวมุสลิมในสิงคโปร์หลังการสิ้นสุดพิธีถือศีลอดหรือรอมฏอน (Ramadan) 


          -  เทศกาล Deepavali   ในเดือนพฤศจิกายน เป็นเทศกาลแห่งแสงสว่างและเป็นงานขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดูในสิงคโปร์   ชาวสิงคโปร์เชื้อสายอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดู   คำว่า  "ทีปวาลี"  ในภาษาสันสกฤตแปลว่า  "แถวแห่งแสงไฟ"   ดังนั้นเมื่อถึงเทศกาลนี้บ้านเรือนและถนนในย่านลิตเติ้ลอินเดียก็จะประดับตกแต่งด้วยไฟส่องสว่างตลอดค่ำคืน  ถือเป็นการบูชาพระแม่ลักษมี
             สำหรับบ้านเรือนจะมีการตกแต่งประดับประดาด้วยตะเกียง (Kolam) ที่ทำจากเมล็ดข้าวและเมล็ดธัญพืชที่แห้งสนิท และตกแต่งด้วยสีสดใส ให้เป็นรูปดอกไม้ เส้นรูปทรงเลขาคณิต และนกยูง ตามความเชื่อสมัยโบราณเป็นการเชื้อเชิญเทพเจ้าแห่งความร่ำรวย คือ  พระนางลักษณ์มี  (Mahalakshmi)   จะเสด็จมาจากสวรรค์มาอวยพรสู่ครอบครัวให้เกิดความร่ำรวยตลอดไป
            งานเฉลิมฉลองเทศกาล Deepavali   เพื่อระลึกถึง ประวัติศาตร์ในอดีต ด้วยการจุดไฟตะเกียงน้ำมันที่เรียกว่า (Diyas)  ตามสถานที่สำคัญทางศาสนา วัด จากแสงเทียนและหลอดไฟให้เกิดแสงสว่าง ซึ่งความหมายของการจุดตะเกียงไฟน้ำมัน เป็นสัญลักษณ์ปลดปล่อยความชั่วร้ายจากจิตใจ และแทนที่ด้วยแสงสว่างจากตะเกียง

          ชาวสิงคโปร์มีวัฒนธรรมหลากหลายแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติ  แต่ผสมผสานกันอย่างกลมกลืน  โดยส่วนมากมักเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนา  รวมถึงความเชื่อเรื่องเทพเจ้า

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศฟิลิปปินส์

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศฟิลิปปินส์
                   
วัฒนธรรมของฟิลิปปินส์เป็นวัฒนธรรมผสมผสานกันระหว่างตะวันตกและตะวันออก ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากสเปน จีน และอเมริกัน ฟิลิปปินส์มีเทศกาลที่สำคัญ ได้แก่          
 
     เทศกาลอาติ – อาติหาน (Ati - Atihan)
                    จัดขึ้นเพื่อรำลึกและแสดงความเคารพต่อ “เอตาส (Aetas)” ชนเผ่าแรกที่มาตั้งรกรากอยู่บนเกาะแห่งหนึ่งในฟิลิปปินส์ และรำลึกถึงพระเยซูคริสต์ในวัยเด็ก โดยจะแต่งตัวเลียนแบบชนเผ่าเอตาส แล้วออกมารำรื่นเริงบนท้องถนนในเมืองคาลิบู (Kalibu)

  
เทศกาลซินูล็อก (Sinulog)
                    งานนี้จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือนมกราคมทุกปี เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) โดยจะจัดแสดงดนตรีและมีขบวนพาเหรดแฟนซีทั่วเมืองเซบู (Cebu)
    
เทศกาลดินาญัง (Dinayang)
                    งานนี้จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) เช่นเดียวกับเทศกาลซินูล็อก แต่จะจัดขึ้นในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคม ที่เมืองอิโลอิโย (Iloilo)

ดนตรีและศิลปะฟิลิปปินส์
                    ดนตรีและศิลปะชาวฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิพลจากทั้งสองวัฒนธรรมที่มีการย้ายไปยังประเทศนี้ ประเภทแรกของเพลงที่พัฒนาขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์เป็นเพลงพื้นเมืองที่อพยพมาจากไต้หวัน ลักษณะภาคใต้ ภาคเหนืออื่นๆ ลักษณะและรูปแบบลักษณะจะมีสามกลุ่มพื้นฐานของดนตรีพื้นเมือง สไตล์ภาคใต้ของเพลงมักจะเกี่ยวข้องกับการใช้ที่แตกต่างกันรวมทั้งห้า Kulintang,Agung,Gangdinagan,Dabakan และ Babedil รูปแบบของดนตรีพื้นบ้านเภาคเหนือของเพลงสะท้อนให้เห็นถึงฆ้องเอเซีย เพลงของพวกเขามักจะมีฆ้อง Unbossed เรียกว่า Gangsa นอกเหนือจากเครื่องมือที่ใช้ในภาคใต้และภาคเหนือของสไตล์ดนตรี อุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในประเทศฟิลิปปินส์รวมถึงการเข้าสู่ระบบกลอง ปี่ zithers ไม้ไผ่และ Kudyapi

วัฒนธรรมประเทศเมียนมาร์

วัฒนธรรม
             วัฒนธรรมของพม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากจีน อินเดีย และไทยมาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรี และอาหาร สำหรับศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ    ด้านการแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ลองยี     ส่วนการแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า    ลุนตยาอชิก

ประเพณี ปอยส่างลอง
             ประเพณี ปอยส่างลอง หรือที่เรียกว่า“งานบวชลูกแก้ว”เป็นงานประเพณีประจำของชาวไต หรือไทยใหญ่ ซึ่งได้มีการจัดสืบทอดกันมายาวนาน คำว่า ปอย แปลว่า งาน ซึ่งหมายถึง งานเทศกาล งานรื่นเริง งานมงคลต่าง ๆ ส่าง แปลว่า พระ-เณร และ ลอง มาจาก คำว่า อะลอง แปลว่า กษัตริย์ ราชา เกี่ยวกับเจ้าแผ่นดิน เมื่อรวมกันก็หมายถึง งานเตรียมบวชเป็นพระเณรของเด็กที่แต่งดาเป็นกษัตริย์หรือราชานั่นเอง

             โดย งาน “ปอยส่างลอง” นี้ จะนิยมจัดในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคมของทุกปี เนื่องจากเป็นช่วงที่ชาวบ้านมีเวลาว่างเว้น หลังจากเก็บเกี่ยวผืชผลเกษตรในไร่นาแล้วเสร็จ ประกอบกับเป็นช่วงปิดเทอมปิดภาคเรียนของเด็กๆ สาเหตุที่ชาวไทยใหญ่ได้จัดงานนี้ก็เพราะต้องการให้บุตรหลานได้มีโอกาสบรรพชา เป็นพระภิกษุสามเณรเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้ว่าชายชาวไทยใหญ่ที่นับถือพระพุทธศาสนา ล้วนจะได้ผ่านการบวชเป็นพระหรือสามเณรจากงานประเพณีปอยส่างลองนี้กันมาแทบ ทั้งสิ้น

             นับแต่อดีตมา พม่ามีงานประเพณีของแต่ละเดือนในรอบปี เรียกว่า แซะนะล่ะหย่าตี่บะแว หรือประเพณีสิบสองเดือน ในยุคราชวงศ์ของพม่ามีการกำหนดให้งานนี้เป็นพระราชพิธี แม้ว่าในปัจจุบันพม่าจะยังคงสืบทอดงานประเพณีสิบสองเดือนไว้ แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง ประเพณีสิบสองเดือนของพม่าเป็นดังนี้ (เดือน 1 ของพม่า เท่ากับเดือน 5 ของไทย และเดือน 12 ไทย เท่ากับเดือน 8 พม่า)

ลำดับเดือน เดือนพม่า เดือนสากล งานประเพณีประจำเดือน

  1. ดะกู มี.ค.-เม.ย. งานฉลองสงกรานต์
  2. กะโส่ง เม.ย.-พ.ค. งานรดน้ำต้นโพธิ์
  3. นะโหย่ง พ.ค.-มิ.ย. งานสอบพระธรรม ปัจจุบันย้ายไปจัดในเดือนดะกู
  4. หว่าโส่ มิ.ย.-ก.ค. งานบวชพระเณร และ งานเข้าพรรษา
  5. หว่าข่อง ก.ค.-ส.ค. งานสลากภัต ปัจจุบันงานบูชานัตที่ต่องปะโยง เป็นที่สนใจมากขึ้น
  6. ต่อดะลีง ส.ค.-ก.ย. งานแข่งเรือ หรือ งานต่อดะลีงหรืองานติจ์ซีง ปัจจุบันไม่มีการจัดงาน
  7. ดะดีงจู๊ต ก.ย.-ต.ค. งานจุดประทีป และ งานออกพรรษา นิยมปล่อยโคมลอยกันในเดือนนี้
  8. ดะส่องโมง ต.ค.-พ.ย. งานทอดกฐิน และ งานตามประทีป
  9. นะด่อ พ.ย.-ธ.ค. งานบูชานัต ปัจจุบันจัดงานเทิดเกียรติกวี แทนงานบูชานัต
  10. ปยาโต่ ธ.ค.-ม.ค. งานอัศวยุทธ ปัจจุบันไม่มีการจัดงาน
  11. ดะโบ๊ะดแว ม.ค.-ก.พ. งานกวนข้าวทิพย์ และ งานหลัวไฟพระเจ้า
  12. ดะบอง ก.พ.-มี.ค. งานก่อเจดีย์ทราย หรือ งานดะบอง ปัจจุบันไม่นิยมจัดงานก่อเจดีย์ทราย