วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

วัฒนธรรมของสิงคโปร์



วัฒนธรรมของสิงคโปร์
          ประชากรสิงคโปร์มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ อีกทั้งส่วนใหญ่ยังยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิม  ทำให้สิงคโปร์มีวัฒนธรรมหลากหลาย ทั้งทางด้านอาหาร การแต่งกาย ตลอดจนการเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ และความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าที่แตกต่างกันไป ชาวจีนส่วนมากบูชาเจ้าแม่กวนอิมธิดาแห่งความสุข กวนอูเทพเจ้าแห่งความยุติธรรม รวมถึงเทพเจ้าจีนองค์อื่นๆ  ขณะที่ชาวฮินดูบูชาเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ เป็นต้น
         
เทศกาลสำคัญของสิงคโปร์ ส่วนมากมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา    เริ่มตั้งแต่

          -  เทศกาลตรุษจีน (Chinese New Year) ในเดือนกุมภาพันธ์ ชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีนจะจัดงานเซ่นไหว้เทพเจ้าและงานรื่นเริงสนุกสนานอื่นๆ  โดยรัฐบาล ห้างร้าน และบริษัทต่างๆ จะหยุดทำการเป็นเวลา 2 วัน  แต่บางแห่งอาจหยุดนานถึง 15 วัน  โดยจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ที่ไซน่าทาวน์   มีทั้งขบวนแห่งมังกร  การแสดงดอกไม้ไฟ  และการแสดงแสงสีเสียงต่างๆ
             ธรรมเนียมปฏิบัติของชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีน  คือ  คืนก่อนวันตรุษจีน  แต่ละครอบครัวจะกลับมากินข้าวเย็นกันพร้อมหน้าพร้อมตา  เมื่อทานกันอิ่มแล้ว  พ่อแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ก็จะมีการแจกเงิน (อั่งเปา)  ให้ลูกหลานที่ยังไม่ได้แต่งงาน  เพื่อความเป็นสิริมงคลรับปีใหม่   คล้ายกับคนไทยเชื้อสายจีน

          -   เทศกาล Good Friday ของชาวคริสต์ในเดือนเมษายน   จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการสละชีวิตของพระเยซูบนไม้กางเขน

          -  เทศกาลวิสาขบูชา (Vesak Day) ของชาวพุทธจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคม เพื่อระลึกถึงการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า




          -  เทศกาล Hari Raya Puasa   เป็นเทศกาลสำคัญของชาวสิงคโปร์เชื้อสายมุสลิม  จัดขึ้นในเดือนตุลาคม (เดือน 10)  ของทุกปีตามปฏิทินอิสลาม  โดยที่ช่วงเช้าชาวมุสลิมจะพร้อมใจกันเข้าสุเหร่าเพื่อประกอบพิธีทางศาสนา   จากนั้นก็เป็นการเฉลิมฉลองในหมู่เพื่อนฝูงหรือครอบครัว  ซึ่งงานนี้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ที่ถนนเกย์แลง  ศูนย์รวมชาวมุสลิมในสิงคโปร์หลังการสิ้นสุดพิธีถือศีลอดหรือรอมฏอน (Ramadan) 


          -  เทศกาล Deepavali   ในเดือนพฤศจิกายน เป็นเทศกาลแห่งแสงสว่างและเป็นงานขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดูในสิงคโปร์   ชาวสิงคโปร์เชื้อสายอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดู   คำว่า  "ทีปวาลี"  ในภาษาสันสกฤตแปลว่า  "แถวแห่งแสงไฟ"   ดังนั้นเมื่อถึงเทศกาลนี้บ้านเรือนและถนนในย่านลิตเติ้ลอินเดียก็จะประดับตกแต่งด้วยไฟส่องสว่างตลอดค่ำคืน  ถือเป็นการบูชาพระแม่ลักษมี
             สำหรับบ้านเรือนจะมีการตกแต่งประดับประดาด้วยตะเกียง (Kolam) ที่ทำจากเมล็ดข้าวและเมล็ดธัญพืชที่แห้งสนิท และตกแต่งด้วยสีสดใส ให้เป็นรูปดอกไม้ เส้นรูปทรงเลขาคณิต และนกยูง ตามความเชื่อสมัยโบราณเป็นการเชื้อเชิญเทพเจ้าแห่งความร่ำรวย คือ  พระนางลักษณ์มี  (Mahalakshmi)   จะเสด็จมาจากสวรรค์มาอวยพรสู่ครอบครัวให้เกิดความร่ำรวยตลอดไป
            งานเฉลิมฉลองเทศกาล Deepavali   เพื่อระลึกถึง ประวัติศาตร์ในอดีต ด้วยการจุดไฟตะเกียงน้ำมันที่เรียกว่า (Diyas)  ตามสถานที่สำคัญทางศาสนา วัด จากแสงเทียนและหลอดไฟให้เกิดแสงสว่าง ซึ่งความหมายของการจุดตะเกียงไฟน้ำมัน เป็นสัญลักษณ์ปลดปล่อยความชั่วร้ายจากจิตใจ และแทนที่ด้วยแสงสว่างจากตะเกียง

          ชาวสิงคโปร์มีวัฒนธรรมหลากหลายแตกต่างกันไปตามเชื้อชาติ  แต่ผสมผสานกันอย่างกลมกลืน  โดยส่วนมากมักเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนา  รวมถึงความเชื่อเรื่องเทพเจ้า

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศฟิลิปปินส์

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของประเทศฟิลิปปินส์
                   
วัฒนธรรมของฟิลิปปินส์เป็นวัฒนธรรมผสมผสานกันระหว่างตะวันตกและตะวันออก ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจากสเปน จีน และอเมริกัน ฟิลิปปินส์มีเทศกาลที่สำคัญ ได้แก่          
 
     เทศกาลอาติ – อาติหาน (Ati - Atihan)
                    จัดขึ้นเพื่อรำลึกและแสดงความเคารพต่อ “เอตาส (Aetas)” ชนเผ่าแรกที่มาตั้งรกรากอยู่บนเกาะแห่งหนึ่งในฟิลิปปินส์ และรำลึกถึงพระเยซูคริสต์ในวัยเด็ก โดยจะแต่งตัวเลียนแบบชนเผ่าเอตาส แล้วออกมารำรื่นเริงบนท้องถนนในเมืองคาลิบู (Kalibu)

  
เทศกาลซินูล็อก (Sinulog)
                    งานนี้จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือนมกราคมทุกปี เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) โดยจะจัดแสดงดนตรีและมีขบวนพาเหรดแฟนซีทั่วเมืองเซบู (Cebu)
    
เทศกาลดินาญัง (Dinayang)
                    งานนี้จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino) เช่นเดียวกับเทศกาลซินูล็อก แต่จะจัดขึ้นในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคม ที่เมืองอิโลอิโย (Iloilo)

ดนตรีและศิลปะฟิลิปปินส์
                    ดนตรีและศิลปะชาวฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิพลจากทั้งสองวัฒนธรรมที่มีการย้ายไปยังประเทศนี้ ประเภทแรกของเพลงที่พัฒนาขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์เป็นเพลงพื้นเมืองที่อพยพมาจากไต้หวัน ลักษณะภาคใต้ ภาคเหนืออื่นๆ ลักษณะและรูปแบบลักษณะจะมีสามกลุ่มพื้นฐานของดนตรีพื้นเมือง สไตล์ภาคใต้ของเพลงมักจะเกี่ยวข้องกับการใช้ที่แตกต่างกันรวมทั้งห้า Kulintang,Agung,Gangdinagan,Dabakan และ Babedil รูปแบบของดนตรีพื้นบ้านเภาคเหนือของเพลงสะท้อนให้เห็นถึงฆ้องเอเซีย เพลงของพวกเขามักจะมีฆ้อง Unbossed เรียกว่า Gangsa นอกเหนือจากเครื่องมือที่ใช้ในภาคใต้และภาคเหนือของสไตล์ดนตรี อุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในประเทศฟิลิปปินส์รวมถึงการเข้าสู่ระบบกลอง ปี่ zithers ไม้ไผ่และ Kudyapi

วัฒนธรรมประเทศเมียนมาร์

วัฒนธรรม
             วัฒนธรรมของพม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากจีน อินเดีย และไทยมาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรี และอาหาร สำหรับศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ    ด้านการแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ลองยี     ส่วนการแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า    ลุนตยาอชิก

ประเพณี ปอยส่างลอง
             ประเพณี ปอยส่างลอง หรือที่เรียกว่า“งานบวชลูกแก้ว”เป็นงานประเพณีประจำของชาวไต หรือไทยใหญ่ ซึ่งได้มีการจัดสืบทอดกันมายาวนาน คำว่า ปอย แปลว่า งาน ซึ่งหมายถึง งานเทศกาล งานรื่นเริง งานมงคลต่าง ๆ ส่าง แปลว่า พระ-เณร และ ลอง มาจาก คำว่า อะลอง แปลว่า กษัตริย์ ราชา เกี่ยวกับเจ้าแผ่นดิน เมื่อรวมกันก็หมายถึง งานเตรียมบวชเป็นพระเณรของเด็กที่แต่งดาเป็นกษัตริย์หรือราชานั่นเอง

             โดย งาน “ปอยส่างลอง” นี้ จะนิยมจัดในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคมของทุกปี เนื่องจากเป็นช่วงที่ชาวบ้านมีเวลาว่างเว้น หลังจากเก็บเกี่ยวผืชผลเกษตรในไร่นาแล้วเสร็จ ประกอบกับเป็นช่วงปิดเทอมปิดภาคเรียนของเด็กๆ สาเหตุที่ชาวไทยใหญ่ได้จัดงานนี้ก็เพราะต้องการให้บุตรหลานได้มีโอกาสบรรพชา เป็นพระภิกษุสามเณรเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ดังจะเห็นได้ว่าชายชาวไทยใหญ่ที่นับถือพระพุทธศาสนา ล้วนจะได้ผ่านการบวชเป็นพระหรือสามเณรจากงานประเพณีปอยส่างลองนี้กันมาแทบ ทั้งสิ้น

             นับแต่อดีตมา พม่ามีงานประเพณีของแต่ละเดือนในรอบปี เรียกว่า แซะนะล่ะหย่าตี่บะแว หรือประเพณีสิบสองเดือน ในยุคราชวงศ์ของพม่ามีการกำหนดให้งานนี้เป็นพระราชพิธี แม้ว่าในปัจจุบันพม่าจะยังคงสืบทอดงานประเพณีสิบสองเดือนไว้ แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง ประเพณีสิบสองเดือนของพม่าเป็นดังนี้ (เดือน 1 ของพม่า เท่ากับเดือน 5 ของไทย และเดือน 12 ไทย เท่ากับเดือน 8 พม่า)

ลำดับเดือน เดือนพม่า เดือนสากล งานประเพณีประจำเดือน

  1. ดะกู มี.ค.-เม.ย. งานฉลองสงกรานต์
  2. กะโส่ง เม.ย.-พ.ค. งานรดน้ำต้นโพธิ์
  3. นะโหย่ง พ.ค.-มิ.ย. งานสอบพระธรรม ปัจจุบันย้ายไปจัดในเดือนดะกู
  4. หว่าโส่ มิ.ย.-ก.ค. งานบวชพระเณร และ งานเข้าพรรษา
  5. หว่าข่อง ก.ค.-ส.ค. งานสลากภัต ปัจจุบันงานบูชานัตที่ต่องปะโยง เป็นที่สนใจมากขึ้น
  6. ต่อดะลีง ส.ค.-ก.ย. งานแข่งเรือ หรือ งานต่อดะลีงหรืองานติจ์ซีง ปัจจุบันไม่มีการจัดงาน
  7. ดะดีงจู๊ต ก.ย.-ต.ค. งานจุดประทีป และ งานออกพรรษา นิยมปล่อยโคมลอยกันในเดือนนี้
  8. ดะส่องโมง ต.ค.-พ.ย. งานทอดกฐิน และ งานตามประทีป
  9. นะด่อ พ.ย.-ธ.ค. งานบูชานัต ปัจจุบันจัดงานเทิดเกียรติกวี แทนงานบูชานัต
  10. ปยาโต่ ธ.ค.-ม.ค. งานอัศวยุทธ ปัจจุบันไม่มีการจัดงาน
  11. ดะโบ๊ะดแว ม.ค.-ก.พ. งานกวนข้าวทิพย์ และ งานหลัวไฟพระเจ้า
  12. ดะบอง ก.พ.-มี.ค. งานก่อเจดีย์ทราย หรือ งานดะบอง ปัจจุบันไม่นิยมจัดงานก่อเจดีย์ทราย

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีกัมพูชา

ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี 

ประเพณีพื้นเมือง ประเพณีปฏิบัติต่างๆ ชาวกัมพูชาจะสอดคล้องใกล้เคียงกับประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยผู้สูงอายุจะเข้าวัดฟังธรรม เมื่อมีงานบุญตามประเพณี ประชาชนหนุ่มสาวและเด็กจะร่วมแรงช่วยเหลือจัดการงานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ จะมีงานบุญประเพณีที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาตามจันทรคติเช่นเดียวประเทศไทยเป็นวันหยุดราชการ ได้แก่ วันมาฆบูชา, วันปีใหม่เขมร ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์จะหยุดราชการในวันที่ 14 – 16 เมษายนทุกปี, วันวิสาบูชา ,วันสาร์ทเขมร (เรียกว่างานวันปรอจุมเบณ)  โดยจะหยุดราชการ 3 และงานวันลอยกระทง  เรียกว่างานบุญอมตุก หรืองานแข่งเรือ เพราะจะมีเรือจากจังหวัดต่างๆมาแข่งฝีพายกันหน้าพระบรมมหาราชวัง จะหยุดราชการ 3 วัน


อาหารพื้นเมือง อาหารของชาวกัมพูชามีรสชาติและหน้าตาคล้ายคลึงกับอาหารไทย อาหารขึ้นชื่อของที่นี่คืออาหารที่ปรุงจากปลา อาหารพื้นเมือง ที่ขึ้นชื่อของกัมพูชา ได้แก่ ข้าวห่อใบบัว ทานกับ
 อามก (ห่อหมกขะแมร์) ขนมจีนน้ำยา ซุปชนังเดย (สุกี้) ก๋วยเตี๋ยวเขมร เป็นต้น นอกจากนี้ที่นี่ยังมีขนมปังฝรั่งเศสวางขายอยู่ทั่วไปตามท้องถนน

ชุดประจำชาติ
  :  ซัมปอต (Sampot) หรือผ้านุ่งกัมพูชา ทอด้วยมือ มีทั้งแบบหลวมและแบบพอดี คาดทับเสื้อบริเวณเอว ผ้าที่ใช้มักทำจากไหมหรือฝ้าย หรือทั้งสองอย่างรวมกัน ซัมปอตสำหรับผู้หญิงมีความคล้ายคลึงกับผ้านุ่งของประเทศลาวและไทย ทั้งนี้ ซัมปอดมีหลายแบบซึ่งจะแตกต่างกันไปตามชนชั้นทางสังคมของชาวกัมพูชา ถ้าใช้ในชีวิตประจำวันจะใช้วัสดุราคาไม่สูง ซึ่งจะส่งมาจากประเทศญี่ปุ่น นิยมทำลวดลายตามขวาง ถ้าเป็นชนิดหรูหราจะทอด้ายเงินและด้ายทอง

ข้อควรทราบก่อนเดินทาง

- การยื่นวีซ่าหนังสือเดินทางตัวจริงที่มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือนและมีหน้าว่างอย่างน้อย 3 หน้า รูปถ่ายสี ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 ใบ ,สำเนาบัตรประชาชน ,แบบฟอร์มวีซ่ากรอกข้อมูลครบถ้วนและเซ็นต์ชื่อ 2 ชุด
- ควรเตรียมเสื้อผ้าเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมกับสภาพอากาศ, โดยเฉพาะครีมกันแดด และแว่นกันแดด
- ราคาของติดเป็นดอลล่าร์ เพื่อความสะดวกควรแลกเงินดอลล่าร์ใบละ 1,5,10,20 จะดีที่สุด
- สามารถใช้เงินไทยได้ในหลาย ๆ จุด แต่อาจะเสียเปรียบเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ไม่จำเป็นต้องแลกเงินเรียล เพราะร้านค้ามักจะทอนมาให้ และควรใช้ให้หมดหรือแลกเป็นเงินบาทก่อนกลับ
- เนื่องจากกัมพูชาเป็นประเทศกำลังพัฒนา การติดต่อสื่อสารระหว่างประเทศมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงวิธีที่ได้รับความนิยมที่สุดคือการส่ง sms และโทรระหว่างประเทศโดยใช้ซิมการ์ดของแต่ละประเทศเมือง

สำคัญและสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ


- พนมเปญ (Phnom Penh) เป็นเมืองหลวงของประเทศกัมพูชา และยังเป็นเมืองหลวงของนครหลวงพนมเปญด้วย ครั้งหนึ่งเคยได้ชื่อว่า ไข่มุกแห่งเอเชีย (เมื่อคริสต์ทศวรรษ 1920 พร้อมกับเมืองเสียมเรียบ) พนมเปญยังมีชื่อเสียงในฐานะที่มีสถาปัตยกรรมแบบเขมรดั้งเดิม และแบบได้รับอิทธิพลฝรั่งเศส และผู้คนเป็นมีอัธยาศัยดี พนมเปญยังเป็นศูนย์กลางการค้า การเมือง และวัฒนธรรมของกัมพูชา เมืองหลวงของกัมพูชาแห่งนี้อุดมไปด้วยสวนและต้นไม้นานาชนิด นอกเหนือไปจากบ้านเรือนที่หลงเหลือมาจากยุคอาณานิคมที่ดูเหมือนอยู่ท่ามกลางเมืองเก่าของฝรั่งเศส บรรยากาศแสนสบายของเมืองที่ห้อมล้อมไปด้วยสายน้ำ จนได้รับการขนานนามว่าเป็น“เมืองท่าแห่งสุดท้ายอันยิ่งใหญ”ในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมามีโรงแรมเกิดขึ้นมากมายเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ร้านอาหารก็ได้รับการพัฒนาขึ้นจนได้มาตรฐานด้วยเช่นกัน กระนั้นร้านอาหารพื้นเมืองราคาประหยัดก็ยังมีให้เลือมากมาย

วัฒนธรรมประเทศมาเลเซีย



วัฒนธรรมประเทศมาเลเซีย
ขนบธรรมเนียมประเพณีชาวมลายู 
 ประเทศ มาเลเซียเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศที่ประกอบขึ้นด้วยหลากหลายชาติพันธุ์   ประเทศมาเลเซียมีดินแดนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นรัฐต่างๆจำนวน 11 รัฐตั้งอยู่บนแหลมมลายู   อีกส่วนหนึ่งมี 2 รัฐตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว   ทั้งสองส่วนนี้มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ รัฐที่ตั้งอยู่บนแหลมมลายูประกอบด้วยชาติพันธุ์ใหญ่ๆจำนวน 3 ชาติพันธุ์ คือ มลายู จีน และอินเดีย ส่วนรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว มีจำนวนชาติพันธุ์หลายสิบชนเผ่า
          ในที่นี้ขอกล่าวถึงชาวมลายูในประเทศมาเลเซีย ชาวมลายูในประเทศมาเลเซีย มีขนบธรรมเนียมประเพณีอยู่ 2 แบบ คือ
         
 1. ชาวมลายูที่ยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีแบบ Adat Temenggong  เป็น ขนบธรรมเนียมที่ยึดถือในรัฐส่วนใหญ่ของแหลมมลายู ยกเว้นรัฐนัครีซัมบีลัน ว่ากันว่าเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือมาตั้งแต่ยุคแรกรัฐมะละกาจนขยาย ไปยังรัฐต่างๆในแหลมมลายู ขนบธรรมเนียมนี้จัดตั้งขึ้นโดย Datuk Ketemenggungan จากเกาะสุมาตรา จากการที่ขนบธรรมเนียมประเพณี Adat Temenggong มีการผสมผสานกับขนบธรรมเนียมเดิมที่มีอยู่แล้ว จึงได้เกิดเป็นกฎหมายมีชขื่อแตกต่างกัน เช่น กฎหมายมะละกา  กฎหมายโยโฮร์ และกฎหมายเคดะห์

การแต่งกายมาเลเซีย

มาเลเซียเป็นชื่อใหม่ (เมื่อ ค.ศ. 1963) ของประเทศมาลายู เมืองหลวง คือ กัวลาลัมเปอร์ สหพันธ์มาเลเซียเป็นดินแดนที่มีชนหลายภาษาอาศัยรวมกัน เช่น มลายูแท้ จีน อินเดีย ปากีสถาน ยูเรเซียน ลังกา อินโดนีเซีย และชาวเขา

การทอผ้าในมาเลเซียมีมากแถบกลันตัน และตรังกานู ซึ่งเป็นผ้าที่ทอโดยสอดไหมเงิน และทองลงในเนื้อไหมตามแบบผ้าทอในอินเดีย พวกช่างทอผ้าในมาเลเซียเป็นพวกที่อพยพมา จากเกาะสุมาตรา

การแต่งกาย แตกต่างกันตามประเพณีนิยมของแต่ละเชื้อชาติ

ผู้หญิง นุ่งโสร่งปาเต๊ะสีสดมีลวดลายดอกดวงงาม สวมเสื้อคอยูแขนยาวถึงข้อมือ ปล่อยชายเสื้อไว้นอกโสร่ง บางคนจะมีผ้าบาง ๆ คลุมศีรษะ คลุมไหล่ ชาวมาลายูชอบใช้เสื้อผ้า สีสดใสมีลวดลาย ใบไม้ดอกไม้โต ๆ สลับสีกัน ชาวจีนแต่งกายแบบจีนเรียกว่า “กี่เพ้า” หรือ “ฉ่งชำ” ทำด้วยผ้าเป็นดอกดวง ฉูดฉาด

ชาย นุ่งโสร่งเป็นตา และสวมเสื้อแขนยาว บางคนสวมหมวก ใช้ผ้าโพกศีรษะ คนแก่มัก มีผ้าห้อยไหล่

วัฒนธรรมประเทศลาว

วัฒนธรรมประเทศลาว



อาหารการกิน อาหาร ลาวขึ้นชื่อเรื่องของสด  โดยเฉพาะผัก ผลไม้  และสัตว์น้ำจืด เช่น ปลา  กุ้ง  และหอยน้ำจืด เป็นต้น เพราะลาวอุดมสมบูรณ์ด้วยมีแม่น้ำหลายสาย อาหารที่ลาวจะคล้ายกับอาหารไทยหลายอย่าง  เช่น  ส้มตำ ลาบ ไก่ย่าง เป็นต้น  อาหารหลักของชาวลาวคือ ข้าวเหนียว  ใครไปเที่ยวเมืองลาวรับรองว่าไม่มีปัญหาเรื่องอาหารการกินอย่างแน่นอนค่ะ
เครื่องดื่มเครื่อง ดื่มที่นิยมมากที่สุดคือ เบยลาว หรือ เบียร์ลาว  ที่ลาวผลิตเองในประเทศ ดีกรีไม่แรง รองลงมาได้แก่เหล้าขาว  ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือบ้านช่างไห  หลวงพระบาง  กาแฟลาวเป็นกาแฟพันธุ์ดีและรสชาติเยี่ยมพันธุ์หนึ่ง
วัฒนธรรมและลักษณะประจำชาติ มีความซื่อสัตย์สุจริต กล้าหาญ อดทน รักอิสระเสรี รักหมู่คณะ ไม่ชอบการเบียดเบียนข่มเหง เป็นชาติที่รักสงบ มีความเคารพนับถือในบรรพบุรุษ นับถืออาวุโสทางอายุเป็นเกณฑ์สำคัญ มีอิสระในการเลือกคู่ครอง และมักจะศึกษาจิตใจกันก่อน ลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวใหญ่ เช่นเดียวกับชาวไทยทั่วไป การแต่งกาย ผู้หญิงนิยมเกล้าผม นุ่งผ้าซิ่น และมีสไบเฉียงพาดไหล่ ผู้ชายแต่งกายเช่นเดียวกับคนไทยในภาคอีสาน ส่วนชาวเขาเผ่าต่าง ๆ นิยมแต่งกายตามประเพณีของเผ่า ที่อยู่อาศัย บ้านเป็นหลังคาทรงแหลมชะลูด ยกพื้น สร้างด้วยไม้ อาหารการกิน อาหารหลักคือข้าวเหนียวและลาบ เช่นเดียวกับชาวอีสานของไทย การดนตรี เครื่องดนตรีประจำภาคคือ แคน และการแสดงคือ หมอลำแคน ส่วนการฟ้อนรำและดนตรีส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากไทย


การแต่งกายลาว

เป็นประเทศที่อยู่ชิดชายแดนไทยทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือทางจังหวัดหนองคาย ข้ามแม่น้ำโขงไปอีกฟากหนึ่งก็จะถึงเมืองเวียงจันทร์ นอกจากชนชาติลาวซึ่งบางครั้งเรียกว่าลัวะ หรือละว้า ยังมีชนเผ่าต่าง ๆ อีก ได้แก่

          1.    กลุ่มชนเผ่าไท-ลาว คือพวกไทแดง ไทขาว ไทดำ ย้อ ลื้อ

          2.    กลุ่มม้ง-เย้า

          3.    กลุ่มพม่า-ธิเบต รวมถึงมูเซอ ล่าฮู

          4.    กลุ่มมอญ-เขมร รวมถึงขมุ


การทอผ้าของกลุ่มชาวไท-ลาว ใช้เทคนิคการทอ 6 วิธี ได้แก่
          -  มัดหมี่ หรือ IKAI (อีขัด)

          -  จก หรือ เทคนิค การเพิ่มด้ายเส้นพุ่งพิเศษเป็นช่วง ๆ ไม่ติดต่อกันตลอดหน้าผ้า

          -  ชิด หรือเทคนิคการเพิ่มด้วยเส้นพุ่งพิเศษติดต่อกันตลอดหน้าผ้า

          -  เหยียบเกาะ หรือเทคนิคการทอแบบใช้เส้นด้ายหลายสีเกี่ยวหรือผูกเป็นห่วง (เป็นเทคนิคการทอของชาวไทลือ้)

          -  ตามุก หรือเทคนิคการเพิ่มด้ายเส้นยืนพิเศษ

          -  หมากไม หรือเทคนิคการปั่นด้ายเส้นพุ่ง 2 สีเข้าด้วยกัน

          ผ้าทอมีบทบาทสำคัญในชีวิตครอบครัวของชาวไท-ลาว ทุกวันนี้พิธีแต่งงานแบบดั้งเดิมของ คนไท-ลาวยังคงใช้เครื่องแต่งกายที่งดงาม ประณีต ชุดเจ้าสาวทอด้วยไหมเส้นละเอียด สอดแทรก ด้วยเส้นเงินเส้นทอง ผ้าเบี่ยง ซิ่นและตีนซิ่น จะมีสีและลวดลายรับกัน เจ้าบ่าวนุ่งผ้านุ่งหรือผ้า เตี่ยวทอด้วยไหมละเอียดสีพื้น อาจะใช้เทคนิคการทอแบบ “หมากไม” คือการปั่นเส้นใย สวมเสื้อ แบบฝรั่ง มีผ้าพาดบ่าเพื่อเข้าพิธีสู่ขวัญ


การแต่งกาย

          ผู้หญิง นุ่ง Patoi (มีลักษณะคล้ายผ้านุ่งของไทย) นิยมทำเป็นลายทาง ๆ เชิงผ้าเป็น สีแดงแก่ หรือน้ำตาลเข้ม ถ้าผ้านุ่งเป็นไหม เชิงก็จะเป็นไหมด้วย มักจะทอทองและเงินแทรกเข้าไป ไว้ผมเกล้ามวยประดับดอกไม้


          ผู้ชาย นุ่ง Patoi เป็นการนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อชิ้น นอก กระดุมเจ็ดเม็ด

วัฒนธรรมอินโดนีเซีย

วัฒนธรรมอินโดนีเซีย

การแต่งกาย  เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม การแต่งกายจึงโน้มน้าวไปตามประเพณีของศาสนา

ผู้ชาย จะนุ่งโสร่ง สวมเสื้อคอปิด แขนยาว สวมหมวกรูปกลม หรือหมวกหนีบ ทำด้วยสักหลาดสีดำ บางครั้งจะนุ่งโสร่งทับกางเกง ประมาณครึ่งตัว โดยปล่อยให้เห็นขากางเกง ในกรณีที่ต้องเข้าพิธี อาจจะมีการเหน็บกริชด้วย ปัจจุบันผู้ชายอินโดนีเซียส่วนใหญ่นิยม แต่งกายแบบสากล แต่ยังคงสวมหมวกแบบเดิม

ผู้หญิง จะใช้ผ้าไคน์ พันรอบตัว และใช้นุ่งอยู่กับบ้านเท่านั้น ผ้าไคน์จะมีลวดลายสวยงามมาก เนื้อดีและราคาแพง ซึ่งเป็นที่นิยมเรียกกันอีกชื่อว่า ผ้าปาติค (Patik) เวลานุ่งจะต้องให้ยาวกรอมเท้า สวมเสื้อ เรียกว่า เคบาจา (Kebaja) เป็น เสื้อที่รัดติดกับตัว แขนยาว สำหรับผู้หญิงชาวเกาะสุมาตรา นิยมสวมเสื้อหลวม ลำตัวยาวเกือบถึงเข่า เรียกว่า บัตยูกรุง และใช้ผ้าห่มพาดไหล่ข้างหนึ่งด้วย ผู้หญิงอินโดนีเซียไว้ผมยาว แล้วเกล้าเป็นมวย และใช้เครื่องประดับ เช่น พลอย หรือดอกไม้ประดับศีรษะ รองเท้าที่ใช้เดิมเป็นรองเท้าแตะ แต่ปัจจุบันเป็นรองเท้ามีส้นและทาสี แกะสลักเป็นรูปต่าง ๆ สายคาดทำด้วยหนังทาสีเงิน หรือสีทอง สตรีที่นับถือศาสนาอิสลามจะใช้ผ้าคลุมศีรษะ แต่ไม่ปิดหน้า ปัจจุบันนิยมแต่งกายแบบตะวันตกมากขึ้น การแต่งกายแบบดังกล่าว จะใช้ในโอกาสพิธีสำคัญ ๆ เท่านั้น


ศิลปะและวรรณคดี  ชาวอินเดียเป็นผู้รักศิลป และวรรณคดีมาช้านานแล้ว สังเกตได้จากลวดลายของเครื่องแต่งกาย บ้านที่พักอาศัย ศาสนสถาน และนาฎศิลป์ต่าง ๆ ศิลปในประเทศอินโดนีเซีย มิได้ยึดถือตามที่สืบทอดกันมาแต่ในอดีตเท่านั้น แต่มีหลายสิ่งหลายอย่างได้พัฒนาเปลี่ยนไปตามแต่ละยุค แต่ละสมัย ที่มีอิทธิพลต่อประเทศอินโดนีเซีย ในขณะนั้น

ศิลปกรรมการปั้น และการแกะสลัก  การทำงานแบบธรรมชาติ โดยใช้ฝีมืออย่างแท้จริง ประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ในรูปแบบแกะสลักไม้ แกะสลักวัตถุโลหะ เครื่องปั้นดินเผา และงานแกะสลักหินเป็นรูปต่าง ๆ แต่ส่วนใหญ่เป็นศิลปกรรมฮินดู เพราะศาสนาพราหมณ์ฮินดู เคยเข้ามามีอิทธิพลในอินโดนีเซีย นักแกะสลักที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่เป็นชาวบาหลี

สถาปัตยกรรม  มีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพของภูมิประเทศและอิทธิพลของศาสนา แต่ส่วนใหญ่คล้ายคลึงกับประเทศต่าง ๆ แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  อาคารบ้านเรือนของประชาชนโดยทั่ว ๆ ไปจะใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นเป็นอุปกรณ์ในการก่อสร้าง ส่วนเทวสถานบางแห่ง เช่น สถูปโบโรพุทโธ ซึ่งมีชื่อเสียงมากได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของศาสนาฮินดู